วันพฤหัสบดีที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2551

ความรู้สึกที่มีต่อการเรียนวิชาเตรียมฝึกประสบการวิชาชีพ

ความรู้สึกที่มีต่อการเรียนวิชานี้ก็แบบว่าเหมือนเราได้กลับไปเรียนมัธยมเลย ด้วยความรู้สึกที่ว่าคือต้องแต่งกายให้ถูกระเบียบของทางมหาวิทยาลัย แต่ก็ทำให้เราดูดี มีสง่ามากขึ้นนะ อีกเรื่องหนึ่งที่รู้สึกว่าจะวุ่นวายมากๆเลย คือการเข้าแถวก่อนขึ้นห้องในการเรียนวิชาเตรียมฝึกฯ การเข้าแถวต้องเรียงตามรหัสนักศึกษา ตอนแรกก็ดูจะสับสนไปหมดว่าเราจะเข้าตรงไหนแต่พอนานๆเข้าทุกสิ่งทุกอย่างเริ่มเข้าที่ เป็นระเบียบมากขึ้นทำให้กิจกรรมการเรียนการสอนเริ่มเร็วมากขึ้น และที่สำคัญได้กลับบ้านเร็วขึ้นด้วย ในการเรียนวิชานี้ทำให้เรารู้อะไรหลายอย่าง ประวัติพอสังเขปของมหาวิทยาลัย การประกันคุณภาพการศึกษา การดำเนินกิจกรรม เพื่อพัฒนาคุณภาพของผู้เรียน การบริหารการเงินส่วนบุคล ว่าเราทำไมจะต้องมีการออม เงินออมมาจากไหน เช่นการที่เราอยากจะมีเงินออมเพิ่มมากขึ้น เรามีวิธีโดยการลดรายจ่าย เห็นได้ง่ายๆจากในชีวิตประจำวันของเรา เราก็จะลดการซื้อสินค้าประเภทสินค้าสินเปลืองก็พวกเครื่องสำอาง กระเป๋าเสื้อ เสื้อผ้า หรือสิ่งของที่ไม่จำเป็น
การพัฒนาบุคคลิกภาพ การแต่งกายการมีกริยามารยาทที่ดีในการเข้าสังคม และการฝึกทักษะภาอังกฤษและเทคโนโลยี

วันพุธที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2551

ประวัติส่วนตัว

ชื่ออันไพเราะ นางสาวกาญจนา ภูผาสุข
วันเกิด : 6 ตุลาคม 1987 กรุ๊ปเลือด : AB ราศี : ตุลย์
การศึกษา : จบมัธยมศึกษาจากโรงเรียนศรีเมืองวิทยาคาร จังหวัดอุบลราชธานี
ปัจจุบันกำลังศึกษาอยู่มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิตชั้นปีที่ 3 คณะวิทยาการจัดการ โปรแกรมบริหารธุรกิจ แขนงคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
ที่อยู่ปัจจุบันที่สามารถติดต่อได้ 600/17 ซ.สาธุประดษฐ์ 52 ถ.สาธุประดิษฐ์ แขวงบางโพงพาง เขตยานนาวา
นิสัยโดยส่วนตัว:ร่าเริงแจ่มใส ชอบความสนุกสนาน
สีที่ชอบ : แล้วแต่สถานการณ์...
อาหารที่ชอบ :ส้มตำ ไก่ย่าง
แนวดนตรีที่ชอบ : แล้วแต่อารมณ์...
สถานที่ที่อยากจะไป :ทั่วประเทศไทย
ประเทศที่อยากไป : ทิเบต ฝรั่งเศล
เรื่องที่แย่ที่สุด : "การสูญเสียคนสำคัญที่สุดในชีวิต"
ความใฝ่ฝันสูงสุด : เป็นคนที่ประสบความสำเร็จในหน้าที่การงานและชีวิตส่วนตัว
เรื่องวันวานยังหวานอยู่ :การได้อยู่กับครอบครัว
คติประจำใจ:ทำวันนี้ให้ที่สุด

เตือนผู้บริโภคระวังภัยจากฟอร์มาลินในอาหาร

ในปัจจุบันได้มีการตรวจบ่อยครั้งว่า มีการใช้น้ำยาฟอร์มาลินแช่ผัก แช่ปลา และเนื้อสัตว์บางอย่าง ตามที่เป็นข่าวอยู่เสมอๆ นั้นเรามารู้จักฟอร์มาลินว่ามันคืออะไร ใช้ทำอะไร และมีอันตรายมากน้อยเพียงใด รศ.ดร.ทรงศักดิ์ ศรีอนุชาต รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยโภชนาการ ม.มหิดล เผยว่า ฟอร์มาลินเป็น สารละลายของสารเคมีชนิดหนึ่งที่เรียกว่า ฟอร์มาลดีไฮด์ นั้นปรกติจะเป็นแก๊ส ไม่มีสี มีกลิ่นฉุนมาก แสบจมูกเมื่อทำเป็นสารละลายแล้ว ดังนั้นเมื่อเปิดขวดออกจะมีกลิ่นฉุนเช่นเดียวกัน สถานที่ใช้ฟอร์มาลินกันมากคือในโรงพยาบาล สำหรับดองศพ และเนื้อเยื่อต่างๆ นอกจากนี้ยังพบมีการใช้เป็นน้ำยารักษานื้อไม้สำหรับป้องกันแมลง เช่น ในการทำปาติเลสที่ประกอบเป็นตู้ โต๊ะ และเฟอร์นิเจอร์สมัยใหม่ต่างๆ โดยเฉพาะตู้เสื้อผ้าจะสังเกตุได้ว่าถ้าเปิดตู้ใหม่ๆจะมีกลิ่นฉุนจมูกมาก นั่นคือกลิ่นฟอร์มาลินนั่นเอง นอกจากนี้ ยังพบมีการใช้ในการทาสี กาว ทำกระดาษ และอื่นๆ จึงสรุปได้ว่า ฟอร์มาลินนั้นใช้สำหรับทางการแพทย์และอุตสาหกรรมเท่านั้นไม่มีจุดประสงค์ให้ใช้ในอาหารเลย สำหรับอันตรายของฟอร์มาลินหรือสารฟอร์มาลดีไฮด์นั้นจะให้ความเป็นพิษหลายอย่างถ้าใช้ไม่ถูกต้อง หรือสัมผัสบ่อยและมากเกินไป ถ้ากินเข้าไปจำนวนมากราว 60-90 ซีซี ก็ตายได้ โดยมันจะไปทำให้เซลต่างๆหยุดทำงาน และทำให้เซลของร่างกายตายได้ ถ้าหายใจเข้าไปมากๆ ก็จะระคายเคืองต่อตาและระบบทางเดินหายใจ มีน้ำตาไหล ปวดศรีษะ นอนไม่หลับและอาจเบื่ออาหารซึ่งทั้งหมดเป็นผลของฟอร์มาลดีไฮด์ต่อระบบประสาท อย่างไรก็ตามการกินหรือการหายใจเข้าไปเพียงเล็กน้อยก็คงจะไม่พบอาการต่างๆเหล่านี้ ที่สำคัญคือองค์การวิจัยมะเร็งนานาชาติของสหประชาชาติได้ประเมินแล้วพบว่า การวิจัยบางอันแสดงว่า ฟอร์มาลดีไฮด์ทำให้สัตว์ทดลองเป็นมะเร็งได้ โดยเฉพาะโพรงจมูก (ไซนัส) และมะเร็งหลอดลม แต่การเกิด มะเร็งในคนนั้นยังไม่ยืนยันดังนั้น จึงเพียงสงสัยว่าจะทำให้เกิดมะเร็งได้จึงไม่สมควรที่จะสัมผัสมากและบ่อยเกินไป รศ.ดร.ทรงศักดิ์กล่าวด้วยว่า การที่นำน้ำยาฟอร์มาลินมาแช่ผัก แช่ปลาหรือเนื้อสัตว์นั้นเป็นการไม่สมควรอย่างยิ่งเพราะทำให้เกิดความเสี่ยงต่ออันตรายต่อผู้ใช้และผู้บริโภคได้ ถ้าชื้อผักหรือเนื้อสัตว์มาแล้วสงสัยว่าจะมีการแช่ฟอร์มาลินอาจจะใช้การดมกลิ่น หรือดูลักษณะของผักและเนื้อสัตว์ว่ามีลักษณะแข็งผิดปรกติหรือไม่ แต่ถ้ายังไม่แน่ใจอีกก็ต้องใช้วิธีล้างน้ำสะอาดหลายๆครั้งจะช่วยลดปริมาณฟอร์มาลินที่ติดอยู่ลงไปได้ และถ้านำไปหุงต้มด้วยก็จะลดลงไปอีก ส่วนที่ติดอยู่กับอาหารคงจะมีปริมาณเพียงเล็กน้อยเท่านั้น อย่างไรก็ตามสิ่งสำคัญที่สุดคือต้องมีการรณรงค์ไม่ให้มีการใช้ในอาหาร และจะต้องมีการตรวจสอบควบคุมและดำเนินการตามกฎหมายต่อผู้ใช้อย่างเคร่งครัดต่อไป



http://www.ozonicinter.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=27092&Ntype=2