วันเสาร์ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2552

สรุปการปฏิบัติงานสัปดาห์ที่ 8(วันที่ 21ธ.ค.-25 ธ.ค. 2552)
ฝึกที่สำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (กลุ่มวิจัยและพัฒนาสารสนเทศ)


สิ่งที่ได้รับจากการฝึกประสบการณ์:
ในสัปดาห์นี้ก็ได้ประสบการณ์ในการติดต่อสื่อสารกับบุคคลภายนอก พี่ที่ศุนย์ได้มอบหมายให้ไปส่งหนังสือราชการนอกสถานที่ คือต้องไปส่งหนังสือราชการเกี่ยวกับแผนแม่บทของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ที่สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ คือในส่วนนี้ทำให้เรารู้ว่าในการติดต่อทางราชการนั้นขั้นตอนแรกเราควรทำอย่างไร และต้องไปติดต่อส่วนไหนก่อนและ ส่วนในเรื่องของการทำเอกสารก็เรียนรู้การทำ Mail Merge ซึ่งไม่เคยทำมาก่อน ก็ได้รับมอบหมายให้ทำการ์ดอวยพรวันขึ้นปีใหม่ให้กับ ผอ. ศูนย์เทคโนโลยีฯ ก็นำ Mail Merge ช่วยในการทำงานประหยัดเวลา ก็ง่ายต่อการทำหนังสือเวียนและการทำหนังสือเชิญประชุมทำให้การทำงานสะดวกและรวดเร็วขึ้นและแก้ไขโปรเจคที่ได้รับมอบหมาย

ปัญหา: ในสัปดาห์นี้ก็ไม่มีปัญหาอะไร ส่วนใหญ่ก็จะเกี่ยวกับโปรเจคที่ได้รับมอบหมาย คือในการทำฐานข้อมูลเรายังไม่เข้าใจระบบกระบวนการงานของการเบิกวัสดุสำนักงานก็เลยทำให้การทำ er diagam ผิดก็ต้องกับมาแก้ไข

วิธีการแก้ไข: ขอคำแนะนำจากพี่ที่ศูนย์เทคโนโลยีฯ เกี่ยวกับการทำโปรเจค

วันอาทิตย์ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2552

สรุปการปฏิบัติงานสัปดาห์ที่ 7(วันที่ 14ธ.ค.-18 ธ.ค. 2552)
ณ สำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (กลุ่มวิจัยวิจัยและพัฒนาสารสนเทศ)

สิ่งที่ได้รับจากการฝึกประสบการณ์:
ในสัปดาห์นี้ก็ได้ออกไปติดตั้งเครื่องคอมพิวเตอร์กับพี่กลุ่มบริหารเครือข่ายและบริการคอมพิวเตอร์ สิ่งที่เราได้รับในสัปดาห์คือ ทำให้เราได้เรียนรู้หลักกการขั้นตอนปฏิบัติจริงที่เราก็เคยทำมาแล้วครั้งหนึ่ง รวมถึงวิธีการจั๊มฮาร์ดิสซึ่งมีจากเครื่องเดิมไปยังอีกเครื่องหนึ่งซึ่งก็มีข้อดีกว่าการก๊อบใส่แฮนดิไดร์ซึ่งอาจจะต้องใช้เวลานาน รวมถึงขั้นตอนต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการติดตั้งเครื่องคอมพิวเตอร์ รวมถึงเรียนรู้ขั้นตอนการเขียนโครงการในการของบต่างๆของศูนย์เทคโนโลยีฯในส่วนใหญ่แล้วก็ไม่มีอะไรมากเพราะงานที่ทำจะเกี่ยวกับเอกสารทางราชการ ก็ทำงงานที่ได้รับมอบหมายอย่างเช่นการตรวจสอบเอกสารหาคำผิดของโครงการต่างๆของศูนย์เทคโนโลยีฯ

ปัญหาที่พบ:
-ในการจั๊มฮาร์ดิสก็ยังรู้สึกงงกับขั้นตอนการทำ เพราะไม่ได้ทำอย่างต่อเนื่องต้องใช้เวลานานเนื่องจากข้อมูลในเครื่องนั้นมีจำนวนมาก


การแก้ไขปัญหา:
-พี่ที่ศูนย์ก็คอยให้คำแนะนำต่างๆ ในการติดตั้งเครื่องคอมพิวเตอร์

วันเสาร์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2552

สรุปการปฏิบัติงานสัปดาห์ที่ 6 (วันที่ 7 ธ.ค.-11 ธ.ค. 2552)
ณ สำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (กลุ่มวิจัยวิจัยและพัฒนาสารสนเทศ)
สิ่งที่ได้จากการฝึกประสบการณ์ :
มีทักษะในเรื่องการติดต่อสื่อสารเพิ่มมากขึ้นกับหน่วยงานต่างๆ ภายในกระทรวงวัฒนธรรม เพราะต้องโทรศัพท์ติดต่อทวงถามเอกสารกับหน่วยงานต่างๆ ที่ได้รับมอบหมายอันเนื่องมาจากการประชุมครั้งที่แล้ว และนอกจากนี้ได้รับมอบหมายทำการรวมโครงการสองโครงการเป็นโครงการเดียวกันคือโครงการปรับปรุงเว็บไวต์และพัฒนาเว็บไซค์กับโครงการพัฒนาเว็บไซต์เพื่อให้บริการลิงโทน ทำให้รู้ถึงหลักการใช้คำที่จะนำมาเชื่อมโยงการใช้คำที่ถูกต้องเพราะเป็นโครงการที่จะนำเสนอผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลย๊ฯ


ปัญหาที่พบ:
-มีบางหน่วยงานที่ยังไม่ได้ส่งเอกสารซึ่งเป็นเอกสารที่สำคัญที่จะต้องให้ผู้อำนวยการศูนยืเทคโนโลยีฯ ทำให้การทำงานเกิดความล่าช้า
-เครื่องใช้สำนักงานขัดข้องบ่อยทำให้ต้องเสียเวลาในการส่งแฟล็กซ์

การแก้ปัญหา:
-แจ้งกับหน่วยงานที่ยังไม่ได้ส่งเอกสารให้ส่งเอกสารมาที่ศูนย์เทคโนโลยีฯ ด่วนที่สุด

วันจันทร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2552

สรุปการปฏิบัติงานสัปดาห์ที่ 5 (วันที่ 30 พ.ย.-4 ธ.ค. 2552)
ฝึกที่สำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (กลุ่มวิจัยวิจัยและพัฒนาสารสนเทศ)
สิ่งที่ได้จากการฝึกประสบการณ์ :

ได้รู้ถึงวิธีการติดตั้งเครื่องคอมพิวเตอร์ รวมถึงวิธีการจั๊มฮาร์ดดิสว่ามีขั้นตอนอย่างไร ซึ่งก็ได้มีโอกาสลงมือทำจริงๆ ซึ่งก็เป็นประสบการณ์อย่างหนึ่งที่เราได้รับซึ่งเราไม่เคยทำมาก่อน ก็ได้รับความรู้ในส่วนนี้ และอีกอย่างหนึ่งซึ่งอาทิตย์นี้ได้ลงมือทำจริงๆ ก็คือการเขียนรายงานการประชุมทำให้เรารู้หลักการใช้ภาษาทางราชการที่ถูกต้องเพื่อให้เกิดความสละสลวยในภาษา

ปํญหาที่พบ:
ในการเขียนรายงานการประชุมนั้นเราไม่เข้าใจหลักใจความสำคัญของการประชุมเพราะเราต้องแยกให้ออกว่าเรื่องใดคือหัวข้อเรื่องที่ปรธานแจ้งให้ทราบและเรื่องใดคื่อเรื่องที่พิจารณาทำให้เกิดความไม่เข้าใจในส่วนนี้ และภาษาที่ใช้ยังไม่ถูกต้อง

วิธีการแก้ปัญหา:
พี่ที่ศูนย์ก็ให้คำแนะนำหลักการเขียนการใช้ภาษาในทางราชการ

วันเสาร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

สรุปการปฏิบัติงานสัปดาห์ที่ 4 (วันที่ 23พ.ย -27 พ.ย.2552 )
ฝึกที่สำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร(กลุ่มวิจัยและพัฒนาสารสนเทศ)


สิ่งที่ไดรับจากการฝึกงาน:
ในสัปดาห์นี้ก็รู้เรียนวิธีการลง Driver ของเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยพี่ๆที่ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเป็นผู้สอนวิธีการลง Driver ซึ่งเป็นซอต์ฟแวร์ที่ทำหน้าที่ติดต่อและควบคุม ขับเคลื่อนอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ชนิดนั้น ซึ่งต้องทำแกะ CPU ออกมาดูเพราะเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นรุ่นเก่า นอกจากนี้แล้วยังได้เรียนรู้วิธีการเขียนหนังสือเชิญประชุม



ปัญหาที่พบ:
เนื่องคอมพิวเตอร์เป็นรุ่นเก่าการหา Driver จึงต้องใช้เวลานานทำให้ต้องเสียเวลา


วิธีการแก้ปัญหา:
Search หาตัว Driver จากเว็บ google

วันอาทิตย์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

สรุปการปฏิบัติงานสัปดาห์ที่ 3 วันที่ 16 พ.ย. 2552 - 20 พ.ย. 2552
ฝึกที่สำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (กลุ่มวิจัยและพัฒนาสารสนเทศ)
สิ่งที่ได้รับจากการฝึกงาน:
ได้ประสบการณ์เข้าร่วมสัมมนาในหัวข้อเรื่อง Binary Gaaphic Solution Day 2009 การพัฒนาองค์กรด้วย IT& Solfware System ที่โรงแรมสวิลโซเทล เลอคองคอร์ด รัชดา ทำให้เราได้รับความความรู้เรื่องเทคโนโลยีใหม่ของเครื่องสแกนเนอร์ รวมทั้งการโปรแกรมการจัดการเอกสารนอกจากนี้ยังได้รู้ถึงรูปแบบการเขียนหนังสือราชการรวมทั้งวิธีการเขียนหนังสือเชิญประชุมซึ่งเป็นการเรียนรู้ระบบการทำหนังสือของหน่วยงานราชการ
นอกจากนี้ยังได้เรียนรู้การวิธีการ Ghost ฮาร์ดดิส

ปัญหาที่พบ:
ยังไม่เข้าใจเกี่ยวกับขั้นตอนของการ Ghost ฮาร์ดดิส

การแก้ปัญหา :
พยายามสอบถามกับพี่ที่ทำงานเพื่อทำความเข้าใจให้มากกว่าเดิม

วันอาทิตย์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

สรุปการปฏิบัติงานสัปดาห์ที่ 2
วันที่ 9 พ.ย. 2552 - 13 พ.ย. 2552
ฝึกที่สำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (กลุ่มวิจัยและพัฒนาสารสนเทศ)

สิ่งที่ได้รับ :
ทำให้เราได้ทราบถึงขั้นตอนและวิธีการสำรวจคุรุภัณฑ์คอมพิวเตอร์ด้วยการใช้โปรแกรมสำเร็จรูป everest ว่ามีการเก็บข้อมูลอย่างไร อีกทังยังได้มีการติดต่อสื่อสารกับหน่วยงานต่างๆในกระทรวงเพื่อขอเก็บข้อมูลคุรุภัณฑ์ทางคอมพิวเตอร์ ทำให้เราได้ทราบถึงขั้นตอนและกระบวนการทำงานที่เป็นระบบ นอกจากนี้ยังได้รู้จักการเก็บเอกสารทางราชการที่มีความสำคัญให้เป็นหมวดหมู่

ปัญหาที่พบ :
เครื่องใช้อุปกรณ์สำนักงานอย่าง เช่นเครื่องสแกนเนอร์จะขัดข้องบ่อยทำให้ต้องเสียเวลาในการสแกนเอกสารและต้องใส่ทีละน้อยๆ ทำให้เกิดความล่าช้าเพราะเอกสารที่จะต้องทำการเก็บรวบรวมมีจำนวนมาก

การแก้ไขปัญหา :
ต้องสแกนเอกสารทีละน้อยๆเพื่อไม่ให้เกิดการขัดข้อง

วันเสาร์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

สรุปการปฏิบัติงานสัปดาห์ที่ 1 (วันที่ 2 พ.ย. 2552 - 6 พ.ย. 2552)
ฝึกที่สำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (กลุ่มวิจัยและพัฒนาสารสนเทศ)

สิ่งที่ได้รับจากการฝึกประสบการณ์:
ฝึกที่ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสื่อสาร (กลุ่มวิจัยและพัฒนาสารสนเทศ)กระทรวงวัฒนธรรม
วันแรกของการเป็นนักศึกษาฝึกงาน ได้มีการปฐมนิเทศก์ โดยมี ผอ.วิไล วิทยานารถไพศาล ได้ชี้แจงรายละเอียดในการฝึกงาน ข้อระเบียบแนวปฏิบัติ มีนักศึกษาเข้าร่วมปฐมนิเทศก์ จำนวน 19 คน ข้าพเจ้าและเพื่อนๆอีก 2 คนได้มาฝึกที่ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสื่อสาร จากนั้นก็ได้มีการเข้าพบผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีฯ ผอ.ทวีศักดิ์ ศรีอรุณ งานที่ได้รับมอบหมายในสัปดาห์แรกมีการพิมพ์เอกสาร การจัดเรียงเอกสราที่ได้รับมอบหมาย และข้าพเจ้าได้มีโอกาสเข้าร่วมฟังการประชุม เรื่องโครงการทบทวนและจัดทำแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และได้ทำร่าง Sitemap ที่จะทำเว็บไซค์ของศูนย์เทคโนโลยีฯ และค้นคว้าหาข้อมูลทางไอที ตรวจสอบหัวข้อเว็บไซค์กระทรวงวัฒนธรรม นอกจากนี้ยังได้มีการสำรวจคุรุภัณฑ์ๆคอมพิวเตอร์ของฝ่ายต่างๆ เช่น ฝ่ายพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม ฝ่ายบริหารงานทั่วไป สำนักเลขาธิการอธิบดี จำนวน 15 เครื่อง

ปัญหาที่พบ :ด้วยความรู้สึกตื่นเต้นทำให้เราวางตัวไม่ถูก จึงทำให้เกิดความรู้สึกอึดอัด และอุปกรณ์สำนักงานบางอย่างเรายังใช้ไม่เป็น


การแก้ไขปัญหา :พยายามปรับตัว การมีปฎิสัมพันธ์กับผู้อื่น และเมื่อเกิดข้อสงสัยก็ซักถามเพื่อหาทางแก้ปัญหา

วันพฤหัสบดีที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2552

ความรู้เรื่องจอภาพคอมพิวเตอร์

จอภาพคอมพิวเตอร์ หรือ Monitor เป็นฮาร์ดแวร์ที่เป็นหน่วยแสดงผล (Output Unit) ซึ่งเป็นส่วนประกอบที่สำคัญส่วนหนึ่งของระบบคอมพิวเตอร์ เป็นอุปกรณ์ที่รับสัญญาณจากการ์ดแสดงผล มาแสดงเป็นภาพบนจอ
ประเภทของ
จอภาพจอภาพแบบ CRT (Cathode Ray Tube)
เป็นจอภาพที่ใช้กับคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ มีหลักการทำงานแบบเดียวกับจอโทรทัศน์ ทำงานโดยใช้กระแสไฟฟ้าแรงสูง (high voltage) คอยกระตุ้นให้อิเล็กตรอนภายในหลอดภาพแตกตัวอิเล็กตรอนดังกล่าวจะทำให้เกิดลำแสงอิเล็กตรอนไปกระตุ้นผลึกฟอสฟอรัสที่ฉาบอยู่บนหลอดภาพ เมื่อฟอสฟอรัสถูกกระตุ้นจากอิเล็กตรอนจะเกิดการเรืองแสงและปรากฏเป็นจุดสีต่างๆ (RGB Color) ซึ่งรวมเป็นภาพบนจอภาพนั่นเอง

จอภาพแบบแบน LCD (Liquid Crystal Display) จอภาพผลึกเหลวใช้งานกับคอมพิวเตอร์ประเภทพกพาเป็นส่วนใหญ่ มีสองประเภท ได้แก่ Active matrixจอภาพสีสดใสมองเห็นจากหลายมุม เนื่องจากให้ความสว่าง และสีสันในอัตราที่สูง มีชื่อเรียกอีกชื่อว่า TFT – Thin Film Transistor และเนื่องจากคุณสมบัติดังกล่าว ทำให้ราคาของจอประเภทนี้สูงด้วย Passive matrixจอภาพสีค่อนข้างแห้ง เนื่องจากมีความสว่างน้อย และสีสันไม่มากนัก ทำให้ไม่สามารถมองจากมุมมองอื่นได้ นอกจากมองจากมุมตรง เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า DSTN (Double Super Twisted Nematic)
จอ LCD เป็นเทคโนโลยีที่เริ่มพัฒนาประมาณสิบกว่าปีนี้เอง เริ่มจากการพัฒนามาใช้กับนาฬิกาและเครื่องคิดเลข เป็นจอแสดงผลตัวเลขขนาดเล็ก ใช้หลักการปรับเปลี่ยนโมเลกุลของผลึกเหลว เพื่อปิดกั้นแสงเมื่อมีสนามไฟฟ้าเหนี่ยวนำ LCD จึงใช้กำลังไฟฟ้าต่ำ มีการสร้างทรานซิสเตอร์เป็นล้านตัวเพื่อควบคุมจุดสีบนแผ่นฟิล์มบาง ๆ ให้จุดสีเป็นตารางสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ การแสดงผลจึงเป็นการแสดงจุดสีเล็ก ๆ ที่ผสมกัน

จอภาพระบบสัมผัส (Touch-Screen)เป็นจอภาพที่มีประสาทสัมผัส เป็นอุปกรณ์ที่นำข้อมูลเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์โดยการสัมผัส เป็นจอภาพแบบพิเศษ สามารถรับรู้ทันทีเมื่อมีการสัมผัสกับจอภาพ ใช้งานได้ง่ายสำหรับผู้ที่ไม่เคยใช้คอมพิวเตอร์เลย ผู้ใช้เพียงแตะปลายนิ้วลง
สิ่งที่ควรทราบเกี่ยวกับจอภาพ
Dot Pitch
คือความห่างระหว่างจุดของฟอสฟอรัสซึ่งฉาบอยู่บนหลอดภาพ ถ้าจุดแต่ละจุดห่างกันน้อยจะทำให้ภาพละเอียดมาก ขนาดระหว่างจุดของฟอสฟอรัสมีหน่วยเป็นมิลลิเมตร และมีหลายขนาด เช่น 0.25, 0.26, 0.28 เป็นต้น ตัวเลขดังกล่าวนี้ยิ่งน้อยยิ่งดี เพราะแสดงว่าความห่างระหว่างผลึกฟอสฟอรัสยิ่งน้อยจะยิ่งแสดงภาพได้ละเอียดมากขึ้น
Interlaced & Non-interlaced
Interlaced
คือการแสดงภาพแบบสลับเส้น ตัวอย่างเช่นในโทรทัศน์ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันจะใช้การแสดงภาพแบบ 625 เส้น และสลับกันสแกน ภาพจากหน้าจอที่เห็นจะเกิดจากการสแกนให้เกิดภาพ 2 รอบ โดยที่รอบแรกจะสแกนเส้นคู่ คือ 2,4, 6... จนครบ 624 รอบที่สองจะสแกน เส้นคี่คือ 1,3,5... .จนครบ 625 จอภาพคอมพิวเตอร์ในระยะแรกจะเป็นแบบ interlaced
Non-Interlaced คือการสแกนภาพแบบต่อเนื่อง เรียงจากเส้นที่ 1 จนจบจอภาพ ในปัจจุบันจอภาพคอมพิวเตอร์จะเป็นแบบnon-interlaced ซึ่งทำให้การต่อของจุดจะต่อเนื่องและลดการสั่นไหวของภาพทำให้ดูสบายตากว่า
Low-radiation
คือจอภาพที่มีการกระจายรังสีต่ำ ตามมาตรฐาน MPR-II ของ SSI (Swedish National Institute of Radiation Protection) ซึ่งจะช่วยถนอมสายตาจากการทำงานบนคอมพิวเตอร์นาน ๆ การทดสอบว่าจอภาพมีการกระจายรังสีต่ำหรือไม่นั้นทดสอบได้โดยเปิดสวิตช์จอภาพแล้วลองเอามือหรือช่วงแขนไว้ใกล้จอภาพให้มากที่สุด ถ้ารู้สึกถึงไฟฟ้าสถิตย์ แสดงว่าเป็นจอภาพแบบธรรมดาไม่ใช่แบบ low-radiation
Resolution
คือความละเอียดของการแสดงภาพหรือการสแกนภาพออกมาได้ความละเอียดมากเท่าไร ความสามารถในการแสดงภาพได้ละเอียดมากขนาดไหนนั้นขึ้นอยู่กับประเภทของจอภาพ จอ VGA จะแสดงภาพได้ละเอียดน้อยกว่าจอ SVGA ยิ่งกำหนดความละเอียดในการแสดงสีมากเท่าไร ภาพจะละเอียดมากขึ้น แต่ตัวอักษรบนจอภาพจะเล็กลง โดยจะบอกเป็นค่าสองค่า อย่างเช่น 1024 x 768 ซึ่งเมื่อคำนวณออกมาแล้วก็ คือจำนวนจุดที่จอภาพสามารถผลิตออกมาได้ ในกรณีนี้ เลขตัวแรกคือ Vertical คือจำนวนเส้นในแนวตั้งเท่ากับ 1024 เส้น เลขตัวต่อมาคือ Horizontal คือจำนวนเส้นในแนวนอนเท่ากับ 768 เส้น เมื่อเอาตัวเลข 2 ตัว มาคูณกัน ผลลัพธ์คือจำนวนจุดบนจอภาพซึ่งคือ ความละเอียด (resolution)
จอภาพขนาด 14-15 นิ้ว ควรกำหนด resolution ที่ 800 x 600ผู้ใช้สามารถที่จะกำหนดความละเอียดของการแสดงภาพได้โดยคลิกขวาที่ Desk Top เลือก Properties > Settings
ความละเอียดของสีที่สามารถแสดงบนจอภาพ
จำนวนสีที่แสดงได้นั้นเป็นตัวกำหนดว่าภาพบนจอจะมีสีสรรสมจริงเพียงใดจะมีการแสดงดังนี้
VGA คือ 256 สี
SVGA คือ 16.7 ล้านสี
XGA คือ 16.7 ล้านสี
UXGA คือ 16.7 ล้านสี
สรุป
จอภาพคอมพิวเตอร์ เป็นฮาร์ดแวร์ที่เป็นหน่วยแสดงผล ซึ่งเป็นส่วนประกอบที่สำคัญส่วนหนึ่งของระบบคอมพิวเตอร์ เป็นอุปกรณ์ที่รับสัญญาณจากการ์ดแสดงผล มาแสดงเป็นภาพบนจอจอภาพแบบ ซึ่งจอภาพแบ่งเป็นประเภทต่างๆดังนี้ จอภาพแบบCRT เป็นจอภาพที่ใช้กับคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ มีหลักการทำงานแบบเดียวกับจอโทรทัศน์ จอภาพแบบแบน จอภาพผลึกเหลวใช้งานกับคอมพิวเตอร์ประเภทพกพาเป็นส่วนใหญ่ มีสองประเภท ได้แก่ Active matrixจอภาพสีสดใสมองเห็นจากหลายมุม และPassive matrixจอภาพสีค่อนข้างแห้ง เนื่องจากมีความสว่างน้อย และสีสันไม่มากนัก ทำให้ไม่สามารถมองจากมุมมองอื่นได้ นอกจากมองจากมุมตรง และจอภาพระบบสัมผัส (Touch-Screen)เป็นจอภาพที่มีประสาทสัมผัส เป็นอุปกรณ์ที่นำข้อมูลเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์โดยการสัมผัส เป็นจอภาพแบบพิเศษ สามารถรับรู้ทันทีเมื่อมีการสัมผัสกับจอภาพ ใช้งานได้ง่ายสำหรับผู้ที่ไม่เคยใช้คอมพิวเตอร์เลย ผู้ใช้เพียงแตะปลายนิ้วลงบนหน้าจอคอมพิวเตอร์